ข้อมูลระดับอำเภอ




    คำขวัญอำเภอนาแก  

 ทุ่งนากว้างใหญ่                         แนวไพรภูพาน

 เที่ยวดานสาวคอย                     ล่องลอยน้ำก่ำ

       ถ้ำพระเวสงามตา                       บูชาพระธาตุศรีคุณ



ประวัติความเป็นมาของอำเภอนาแก
                    บริเวณพื้นที่อำเภอนาแก  เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชุนโบราณมาก่อน  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น พระธาตุศรีคุณ
          ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลนาแก  ซากโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่กุดลุงซุง บ้านดอนคราม หมู่ที่ 3 ต.ก้านเหลือง  ใบเสมาหิน ที่ขุดในพื้นที่ต่างๆ ของ
          อำเภอนาแกไม่น่าเชื่อว่าชุมชนเหล่านี้  จะมีอายุร่วมสมัยกับเมืองสกลทวาปี  ขึ้นในการปกครองต่อเมืองสกลทวาปี  หรือเมืองศรีโคตรบูรณ์อย่างใดอย่าหนึ่ง
          ได้มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่า  ชุมชนแห่งนี้ คือ ที่ตั้งเมืองกบิล  และเมืองกบิลได้ล่มสลายไปเพราะถูกโจมตี

                    จนกระทั่ง พ.ศ. 2467 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เสด็จขึ้นครองราชย์  ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน
          ประเทศลาว  เนื่องจากเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์  คิดกบฎตีตัวออกห่างจากกรุงรัตนโกสินทร์  จึงได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเจ้าเมืองต่างๆ โดยเฉพาะ
          หัวเมืองฝ่ายใต้ได้มีการกำจัดผู้คนที่ไม่ใช่พวกของตัวเิองออกไป  และแต่งตั้งคนที่ไว้วางใจเป็นเจ้าเมืองแทน  จึงทำให้มีผู้คนเป็นจำนวนมากอพยพหนีภัย
          จากประเทศลาวข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก  ในจำนวนผู้อพยพครั้งนั้น  ได้มีผู้อพยพจำนวนหนึ่งซึ่งอพยพมาจากเมืองวัง
          นำโดยตาผา  ตาผุย  ตาโสมแผ้ว  ตา้เพ็ง  ตาหล้า  ตาพรม และมีเพียอูดเป็นหัวหน้าใหญ่ (คำว่า  เพีย  ไม่ใช่ชื่อคน  แต่เป็นบรรดาศักดิ์ของประเทศลาว
          ในสมัยนั้น) ได้พาผู้คนจำนวนหนึ่งข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาทางฝั่งไทย  เพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่ที่ปลอดภัย  ครั้นมาถึงทำเลแห่งหนึ่งซึ่งมีน้ำอุดมสมบูรณ์
          และมีที่ดอน  เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปลงเมืองจึงได้ตกลงใจตั้งถิ่นฐานในทำเลแห่งนั้น (ปัจจุบัน คือ บ้านต้นแหน หมู่ที่ 1 ตำบลนาแก)

          แต่เนื่องจากสถานที่แห่งนี้คับแคบ  ผู้อพยพส่วนหนึ่งจึงได้เดินทางไปหาที่อยู่แห่งใหม่  จนมาพบบึงใหญ่ซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปีและรอบๆ บึงก็มีที่ดอนบริเวณ
          กว้างขวางและทางทิศตะวันออกของบึงก็มีพระธาตุโบราณอยู่องค์หนึ่ง  ซึ่งก่อสร้างด้วยดินแดง และในที่ไม่ไกลจากพระธาตุโบราณ  ปรากฎว่ามีหลักโบราณอยู่
          ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า  " หอคุณ "  ผู้อพยพเหล่านั้นเห็นเป็นนิมิตมงคล  จึงได้ปักหลักปักฐาน ณ
ที่แห่งนี้สืบมาจนกระทั้งปัจจุบัน (หมู่ที่ 3 ต.นาแก)
          ส่วนบึงที่พบนั้นก็คือบริเวณหลังโรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา ปัจจุบันได้ตื้นเขินหมดแล้ว  ส่วนพระธาตุโบราณที่พบชาวบ้านได้เรียกขานว่า " พระธาตุสีีคุณ "
          เพราะอยู่ใกล้กับหอคุณ  แต่ต่อมาได้กลายเป็น " พระธาตุศรีคุณ "  จนปัจจุบัน  และเนื่องจากบริเวณรอบๆ บึงมีต้นสะแกขึ้นเป็นจำนวนมาก  จึงได้พากันเรียก
          สถานที่แห่งนี้ว่า " บึงแก "  ต่อมาเมื่อบึงได้ตื้นเขินผู้คนทำไร่ ทำนาเต็มไปหมด  คำว่า บึงแก  จึงได้กลายมาเป็นนาแกจนถึงปัจจุบัน
                    คณะผู้นำในการอพยพครั้งนั้น ก็คือ ต้นตระกูลโสมแผ้ว  วงศ์ตาหล้า  เชื้อดวงผุย  เชื้อคำเพ็ง  วงศ์ตาผา  วงศ์พรม  วงศ์ตาอูด  ในปัจจุบัน  ต่อมา
          เมื่อประชาชนหนาแน่นขึ้น  ทางราชการจึงได้ประกาศยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาแก  โดยมีหลวงพิทักษ์พนมาเขต  เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรก
          และมีพระราชกฤษฎีกา  ยกฐานะเป็นอำเภอนาแก  เมื่อปี 2456  และมีหลวงชาญยุทธกิจ (กา เต โช)  เป็นนายอำเภอท่านแรก  และท่านปัจจุบันเป็นท่านที่ 43

          คือ   นายคนึง มีพรหม



สภาพทางภูมิศาสตร์     
  

 อำเภอนาแกเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม  อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครพนม  มีพื้นที่ 660  ตารางกิโลเมตร  อยู่ระหว่างเส้นรุ่งที่ 16- 18
องศาเหนือ  และเส้นแวงที่ 104 - 106  องศาตะวันออก  ที่ว่าการอำเภออยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณหวัดประมาณ  65  กิโลเมตร
         และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร  ประมาณ  687  กิโลเมตร



อาณาเขต 

   
 

                    ทิศเหนือ               ติดต่อกับ          อำเภอปลาปาก,  อำเภอวังยาง  จังหวัดนครพนม  
ทิศใต้                   ติดต่อกับ          อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร
                    ทิศตะวันออก         ติดต่อกับ          อำเภอธาตุพนม,  อำเภอเรณูนคร   จังหวัดนครพนม                        
                    ทิศตะวันตก           ติดต่อกับ          อำเภอโคกสีสุพรรณ,  อำเภอเต่างอย,  อำเภอโพนนาแก้ว   จังหวัดสกลนคร



เส้นทางคมนาคม


                  อำเภอนาแก  ได้ชื่อว่า เป็นอำเภอที่การคมนาคมสะดวกสบายอีกอำเภอหนึ่ง   เพราะมีเส้นทางหลวงแผ่นดินที่ลาดยางแอสฟันต์ตัดผ่านพื้นที่
          อยู่หลายสาย  และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยยังได้ติดตั้งโทรศััพท์สาธารณะ  และโทรศัพท์ตามบ้านเรือน เพียงพอที่่จะให้บริการประชาชน
         ได้อย่างทั่วถึง  ทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญที่ตัดผ่านอำเภอนาแก  มี  4  สาย  ได้แก่
         
                    1. ทางหลวงแผ่นดิน  เส้นทางที่้  223  สกลนคร - บ้านต้อง  ระยะทาง  69  กิโลเมตร     
                        
 
                   2. ทางหลวงแผ่นดิน  เส้นทางที่้  2033  หนองญาติ - นาแก   ระยะทาง  58  กิโลเมตร  
                       
                    3. ทางหลวงแผ่นดิน  เส้นทางที่้  2104  บ้านจอมมณี - ดงหลวง   ระยะทาง  16  กิโลเมตร       
                        
 
                   4. ทางหลวงแผ่นดิน  บ้านนาเหนือ - เรณูนคร  ระยะทาง  23  กิโลเมตร    
         
               

การแบ่่งเขตการปกครอง


                     แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  12  ตำบล  จำนวน  140  หมู่บ้าน  ดังนี้

                             1. ตำบลก้านเหลือง     มี    13   หมู่บ้าน                              2. ตำบลหนองสังข์       มี    12   หมู่บ้าน

                             3. ตำบลนาแก            มี    12   หมู่บ้าน                              4. ตำบลบ้านแก้ง          มี    10   หมู่บ้าน

                             5. ตำบลพิมาน           มี    10   หมู่บ้าน                              6. ตำบลนาคู่                 มี    11   หมู่บ้าน

                             7. ตำบลพุ่มแก           มี    16   หมู่บ้าน                              8. ตำบลสีชมพู              มี      7   หมู่บ้าน

                             9. ตำบลพระซอง        มี    16   หมู่บ้าน                             10. ตำบลนาเลียง           มี    12   หมู่บ้าน
 
                             11. ตำบลคำพี้            มี     9   หมู่บ้าน                              12. ตำบลหนองบ่อ         มี    12   หมู่บ้าน



ลักษณะภูมิประเทศ
       

                   สภาพพื้นที่โดยทั่วไป  เป็นที่ราบสูง มีบางส่วนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม  คือ ส่วนที่อยู่ริมฝั่งน้ำก่ำและลำน้ำบัง  พื้นที่ที่มีความสูงจากน้ำทะเล
          โดยเฉลี่ยประมาณ  140  เมตร  ลักษณะลาดเอียงจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  อาจแบ่งตามสภาพพื้นที่ได้เป็น  2  เขต
         
                    1. เขตเหนือ  มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มตามลำน้ำก่ำ  และลำน้ำบัง  มีสภาพเป็นทุ่งนา สลับป่าโปร่ง ดินเป็นดินร่วนปนทรายและลูกรัง     
                        ความอุดมสมบูรณ์ในดินต่ำ  มีการซึมซับและระบายน้ำได้ยาก
 
                   2. เขตใต้  มีพื้นที่เป็นที่ราบสูงขนานไปกับเทือกเขาภูพาน  โดยทั่วไปเป็นทุ่งนาสลับป่าโปร่งและภูเขา  ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน  ดินทราย
                        ลูกรังและดินเหนียว  แต่มีความอุดมสมบูรณ์ดีกว่าเขตเหนือ


แหล่งน้ำที่สำคัญ  


- ลำน้ำที่สำคัญ  ได้แก่   
- อ่างเก็บน้ำ  ได้แก่
1. ลำน้ำก่ำ 
1. อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยโท ต.หนองบ่อ  
2. ลำน้ำบัง    
2. อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยนางออ ต.ก้านเหลือง
3. ลำห้วยหว้าน    
3. อ่างเก็บน้ำชลประทานแก่งผักยอด ต.หนองบ่อ
4. ลำห้วยก้านเหลือง    
4. อ่างเก็บน้ำห้วยวังม่วง
5. ลำน้ำยาง      
5. อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยกกคูณ ต.ก้านเหลือง
 
6. อ่างเก็บน้ำห้วยนางยอด  ต.พุ่มแก 
 
7. อ่างเก็บน้ำห้วยดงน้อย ต.พิมาน
 
8. อ่างเก็บน้ำดอนพัฒนา ต.พิมาน
 
9. อ่างเก็บน้ำห้วยก้านเหลือง ต.ก้านเหลือง
 
10. อ่างเก็บน้ำห้วยสีคุณ  ต.นาแก